สมาชิกและฐานะของสมาชิกสภาแห่งชาติ ของ สภาแห่งชาติ (ประเทศลาว)

คุณสมบัติของสมาชิกสภาแห่งชาติ

  1. มีน้ำใจรักชาติ รักระบอบประชาธิปไตยประชาชน มีความจงรักภักดีตามแนวทางการเปลี่ยนแปลงใหม่ของพรรค มีความตั้งใจที่ดีต่อประเทศชาติอย่างบริสุทธิ์ใจและรับใช้ผลประโยชน์ของประชาชนอย่างเต็มความสามารถ[12]
  2. มีความรู้ความเข้าใจต่อแนวทางและผลประโยชน์ของพรรคและข้อระเบียบกฎหมายของรัฐ สามารถเผยแพร่ ปลุกระดม ให้ความรู้ และอบรมประชาชนให้เข้าร่วมกันสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวมและสังคมอย่างแท้จริง
  3. มีทัศนะต่อส่วนรวมและสังคมอันถูกต้อง เป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีของประชาชนทุกเผ่าชน มีแนวทางในการปฏิบัติงานที่ใกล้ชิดและร่วมมือกับประชาชน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท) ตลอดจนต้องได้รับความไว้วางใจจากประชาชน
  4. มีความรู้ความสามารถทางวิชาการเพื่อให้สามารถค้นคว้าและเสนอความเห็นประกอบการปฏิบัติหน้าที่ตามสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสภาแห่งชาติ
  5. มีสุขภาพแข็งแรงเพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยดีสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสภาแห่งชาติ

สมาชิกสภาแห่งชาติมีสิทธิและหน้าที่ดังนี้

  1. เป็นบุคคลตัวอย่าง (ใน) การค้นคว้าใฝ่รู้และปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางและแผนนโยบายของพรรคระเบียบกฎหมายของรัฐ และมติที่ประชุมของสภาแห่งชาติ
  2. เผยแพร่ นโยบายของพรรค ระเบียบกฎหมายของรัฐ และมติที่ประชุม ของสภาแห่งชาติ ปลุกระดมประชาชน (ใน) การปกป้องคุ้มครองรัฐ เศรษฐกิจ และสังคม
  3. เข้าร่วมการประชุมของสภาแห่งชาติ เสนอความเห็นและลงคะแนนเสียงอย่างเสมอภาพต่อข้อพิจารณาหรือ “บันหา” หรือญัตติหรือการขอมติของสภาแห่งชาติในกรณีที่สมาชิกท่านใดไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมได้ สมาชิกท่านนั้นจะต้องแจ้งให้คณะประจำสภาแห่งชาติทราบก่อนที่จะเปิดการประชุม
  4. เข้าร่วมงานการพัฒนา (ในระดับชุมชนชนบท) อย่างใกล้ชิดกับประชาชน ภายใต้การติดตามประเมินผล และตรวจสอบ (สุขทุกข์ของ) ประชาชน สรุปความคิดเห็นและแนวความคิดของประชาชน (ต่อกรณีต่าง ๆ) เสนอต่อที่ประชุมสภาแห่งชาติ
  5. รับคำเสนอหรือคำร้องของประชาชน เพื่อปรึกษากับองค์กรที่เกี่ยวข้องพิจารณาและแก้ไข อย่างเหมาะสมต่อไป
  6. รายงานการปฏิบัติงาน ของตน ต่อประชาชนอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  7. รายงานการปฏิบัติงาน ของตน ต่อคณะประจำสภาแห่งชาติอย่างสม่ำเสมอ
  8. เข้าร่วมการประชุมและพิธีการสำคัญ ขององค์การจัดตั้งพรรค องค์การจัดตั้งรัฐ และองค์การจัดตั้งมหาชนในเขตเลือกตั้งของตน
  9. ปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่อื่นตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบและข้อบังคับของสภาแห่งชาติ

ฐานะทางด้านนิติบัญญัติของสมาชิกสภาแห่งชาติ

สมาชิกสภาแห่งชาติเป็นตัวแทนแห่งจิตปรารถนาและความมุ่งมั่นตั้งใจของประชาชนลาวทุกเผ่าชน โดยพลเมืองลาวเป็นผู้เลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติตามหลักการที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติสมาชิกสภาแห่งชาติได้รับ เอกสิทธิ์ ที่จะไม่ถูกดำเนินคดีหรือกักขัง หากไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภาแห่งชาติหรือคณะประจำสภาแห่งชาติ (ในเวลาที่สภาแห่งชาติมิได้เปิดสมัยการประชุม) ในกรณีที่มีการกระทำผิดซึ่งหน้าหรือรีบด่วน หน่วยงานที่กักขังสมาชิกสภาแห่งชาติต้องรายงานต่อสภาแห่งชาติหรือคณะประจำสภาแห่งชาติ (ในเวลาที่สภาแห่งชาติมิได้เปิดสมัยการประชุม) เพื่อพิจารณาอนุมัติการจับกุมทันที การสืบสวน - สอบสวนไม่อาจเป็นสาเหตุให้สมาชิกสภาแห่งชาติที่ถูกดำเนินคดีนั้นขาดการประชุมสภาแห่งชาติได้[13]

ใกล้เคียง

สภาแห่งชาติ (ประเทศลาว) สภาแห่งชาติเพื่อการคุ้มกันบ้านเกิดเมืองนอน สภาแห่งชาติ (ออสเตรีย) สภาแห่งชาติเพื่อการฟื้นฟูติมอร์ สภาแห่งชาติแห่งสหภาพพม่า สภาแห่งชาติลิเบีย สภาแห่งชาติกัมพูชา สภาแห่งชาติโซมี

แหล่งที่มา

WikiPedia: สภาแห่งชาติ (ประเทศลาว) http://confinder.richmond.edu/admin/docs/laos.pdf http://www.na.gov.la http://www.na.gov.la/lao/chucnang.htm http://www.na.gov.la/lao/lichsu.htm http://www.ipu.org/parline-e/reports/2175_E.htm http://www.undplao.org/whatwedo/demogov.php https://books.google.com/books?id=9x0OEAAAQBAJ&pg=... https://web.archive.org/web/20080730233845/http://... https://en.vietnamplus.vn/vietnam-steps-up-lao-nat...